สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,866 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,783 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,218 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,258 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,125 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,400 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 939 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,595 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 911 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,048 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.07 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 547 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,799 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,995  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 196 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,799 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,995  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 196 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.6471 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          1) ปากีสถาน
สำนักข่าว ARY NEWS รายงานว่า การส่งออกข้าวของปากีสถานไปยังตลาดซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 25 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 134.59 พันล้านบาท) ในปี 2567 โดยข้าวคุณภาพดีของปากีสถานได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคชาวซาอุดิอาระเบีย รายงานยังระบุว่า
ผู้ส่งออกข้าวของปากีสถานมีความเชื่อมั่นว่าการส่งออกข้าวจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 151.41 พันล้านบาท) ภายในปี 2568 เนื่องจากผู้ส่งออกกำลังดำเนินการตามกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อสร้างตำแหน่งทางการตลาดในซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้ ประธานสภาธุรกิจซาอุดิอาระเบีย-ปากีสถาน (The Chairman of the Saudi-Pakistani Business Council) ได้แสดงความชื่นชมในคุณภาพข้าวของปากีสถาน ขณะเดียวกันปากีสถานยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงในตลาดข้าวซาอุดิอาระเบีย ประกอบกับความพยายามของสภาอํานวยความสะดวกการลงทุนพิเศษ (The Special Investment Facilitation Council; SIFC) ที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ ทำให้ปากีสถานสามารถส่งออกข้าวได้ในมูลค่าประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 134.59 พันล้านบาท) มาโดยตลอด
ทั้งนี้ นายชาห์เจฮาน มาลิก (Shahjehan Malik) เจ้าหน้าที่ของ SIFC กล่าวว่า เป้าหมายการส่งออกข้าวของปากีสถาน ในปีงบประมาณ 2568 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 168.24 พันล้านบาท) โดยจะมีการพัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมทุกด้าน มุ่งเน้นการวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ และการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะข้าวบาสมาติของปากีสถานที่มีบทบาทสำคัญในตลาดโลก เนื่องจากเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูงในตลาดต่างประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.6471 บาท
          2) ศรีลังกา
สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า คณะรัฐมนตรีของศรีลังกาได้ตัดสินใจยกเลิกข้อกําหนดการออกใบอนุญาตสำหรับผู้นําเข้าข้าวเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรับประกันเสถียรภาพของอุปทานและราคาข้าวในประเทศ
ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวในประเทศอันเนื่องมาจากการเกิดน้ำท่วมซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีจึงอนุญาตให้ผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าวสามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต นอกจากนี้ยังได้อนุมัติการนำเข้าข้าวจำนวน 70,000 ตัน โดยบริษัท Lanka Sathosa และการนําเข้าข้าวจำนวน 52,000 ตัน โดยบริษัทการค้าของรัฐศรีลังกา (Sri Lanka State Trading General Corporation หรือ SLSTGC)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,498.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 297.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,105.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.05 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 393.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 445.00 เซนต์ (5,965.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 434.00 เซนต์ (5,895.00 บาท/ตัน)
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 70.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 434.00 เซนต์ (5,895.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 421.00 เซนต์ (5,748.00 บาท/ตัน)
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 147.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือนธันวาคม 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตธัญพืชในตลาดโลกมีปริมาณมาก โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.98
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.01
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.64 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.95 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.21
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.50 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.03
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 197.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,700 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 203.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,990 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.77
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 444.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 457.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,730 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 2.87



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.38 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.01
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 42.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.16 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.71
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,169.54 ริงกิตมาเลเซีย (40.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 5,308.88 ริงกิตมาเลเซีย (41.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.62
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
       
- Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานด้านอาหาร (Coordinating Minister for Food Affairs) แถลงข่าวเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ว่า อินโดนีเซียเตรียมที่จะใช้มาตรการห้ามนำเข้าน้ำตาลทรายสำหรับการบริโภคตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติกลางแห่งอินโดนีเซีย (Central Statistics Agency: BPS) รายงานว่า อินโดนีเซียมีปริมาณการนำเข้าน้ำตาลทรายประมาณ 5.1 ล้านตันในปี 2566 โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 และรองลงมา คือ บราซิล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าน้ำตาลทรายที่มีการนำเข้ามานั้น มีปริมาณการใช้เพื่อการบริโภคเท่าใด นอกจากนี้ Zulkifli Hasan กล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตน้ำตาลทรายภายในประเทศมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของประเทศอยู่แล้ว และคาดว่าในปี 2567 อินโดนีเซียจะสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ 2.4 ล้านตัน และวางแผนที่จะเพิ่มการผลิตให้ได้ 2.6 ล้านตัน ภายในปี 2568 นอกจากนี้ ภาครัฐได้มีการวางแผนที่จะผนวกความร่วมมือกับบริษัทและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) เพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำตาลทรายภายในประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการโรงงานน้ำตาลภายในพื้นที่ชุมชน ทั้งนี้ มาตรการห้ามนำเข้าสินค้าอาหารดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองและความพอเพียง (Self-sufficiency) ของอินโดนีเซีย
          - ข้อมูลจาก UNICA รายงานเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ดังนี้ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน ภาคกลาง-ใต้ของประเทศบราซิล มีอ้อยโรงงานเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลทรายจำนวน 23.9 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่งผลให้มีปริมาณการผลิตน้ำตาลทราย 1.40 ล้านเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ บราซิลมีช่วงฤดูผลผลิตอ้อยเข้าหีบระหว่างเดือนเมษายน - ธันวาคม
แต่ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลทรายเพียงจำนวน 78 โรงที่สิ้นสุดการหีบเรียบร้อยแล้ว ลดลงจาก 178 โรงงานในปี 2567 เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเก็บเกี่ยวและส่งผลกระทบต่อผลผลิตอ้อย
(ที่มา: Chinimandi.com)



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 992.76 เซนต์ (12.42 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นขึ้นจากบุชเชลละ 989.52 เซนต์ (12.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 286.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.77 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 285.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.42
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 42.44 เซนต์ (31.86 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 41.87 เซนต์ (31.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.36
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1041.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1026.50 ดอลลาร์สหรัฐ (34.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862.25 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 849.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,520.75 ดอลลาร์สหรัฐ (51.17 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,498.75 ดอลลาร์สหรัฐ (51.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 981.75 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 967.75 ดอลลาร์สหรัฐ (32.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1065.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.85 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1050.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.01 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.72 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,207 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,203 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.09 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.21 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.25 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 363 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 370 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 415 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 418  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 436 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 422 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 453 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 520  บาท คิดเป็นร้อยละ 7.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.01 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.93 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.64 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 – 15 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.15 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.09 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 150.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.19 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.73 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา